วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เทียนหอมไล่ยุง
ผู้จัดทำ
1.นางสาวชลนิกานต์  เห็นทั่ว      เลขที่  11
2.นางสาวนิสิตา  สุวาสุนะ    เลขที่  15
3.นางสาววิภาภรณ์  พรมปาน  เลขที่  23
4.นางสาวอันธิกา  จ่าพิชม   เลขที่  37
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2
เสนอ
คุณครูรตนัตตยา       จันทนะสาโร
โรงเรียนภัทรบพิตร
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32
อำเภอเมือง      จังหวัดบุรีรัมย์
ปีการศึกษา 2558


                                                                                      บทคัดย่อ
                    ยุง เป็นพาหะนะนำโรคหลายชนิดที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย โรคเท้าช้าง เป็นต้น จึงมีผู้คิดทำตัวยาเพื่อกำจัดและป้องกันยุงขึ้นมาหลายชนิดเช่น ครีมทากันยุง ยาจุดกันยุง ยาฉีดกันยุง น้ำมันไล่ยุง เป็นต้น แต่ยากันยุงเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นมากมายเพราะมีสารที่เป็นอันตรายผสมอยู่ ซึ่งทำให้ผู้ใช้บางคนเกิดอาการแพ้ ผู้จัดทำโครงงานได้พบว่ามีชาวบ้านในท้องถิ่นได้นำใบตะไคร้หอมทำเป็นแล้ววางไว้ใกล้ตัว พบว่าสามารถไล่ยุงได้ ผู้จัดทำจึงได้ทำเทียนหอมตะไคร้ไล่ยุงขึ้น เพื่อให้สามารถใช้งานได้สะดวกขึ้นและหยุดปัญหาการแพ้สารเคมี
จากสภาพปัญหาของชุมชนในท้องถิ่น และการใช้สารเคมีจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและทำให้สภาพแวดล้อมเป็นพิษ จึงทำให้เกิดแนวคิดหาวิธีใช้พืชสมุนไพรกลิ่นแรง ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในท้องถิ่น ทำเป็นยากันยุงแทนสารเคมีสังเคราะห์ที่ขายทั่วไป เพื่อลดมลพิษของสิ่งแวดล้อม และช่วยให้ปลอดภัยจากสารพิษเข้าสู่ร่างกาย และจะได้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อยากันยุงที่ทำจากสารเคมีสังเคราะห์
ดังนั้นการที่ได้ทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรไล่ยุงนี้ขึ้นจึงเป็นผลดีต่อผู้ใช้ เพราะสามารถผลิตใช้ได้เองจากสมุนไพรตามบ้าน เช่นตะไคร้หอม มะกรูดและเปลือกส้มอีกทั้งยังทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและปลอดภัยจากสารเคมี










กิตติกรรมประกาศ
                โครงงานเรื่องเทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง ที่สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีก็เพราะได้รับการช่วยเหลือจากอาจารย์ และคณะ ที่ให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำตลอดเวลาของการดำเนินงานตามจุดประสงค์ของโครง งานที่ได้กำหนดไว้ คณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณท่านที่ให้ความช่วยเหลือในเรื่องต่างๆและหวังเป็น อย่างยิ่งว่าโครงงานเรื่องเทียนหอมสมุนไพรไล่ยุงเรื่องนี้น่าจะเกิดประโยชน์ต่อผู้ที่มีความ สนใจศึกษา   

1.นางสาวชลนิกานต์  เห็นทั่ว      เลขที่  11
                                                                                                  2.นางสาวนิสิตา  สุวาสุนะ    เลขที่  15
                                                                                                    3.นางสาววิภาภรณ์  พรมปาน  เลขที่  23
                                                                                                4.นางสาวอันธิกา  จ่าพิชม   เลขที่  37
                                                                                                  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2




      





บทที่ 1 บทนำ
ที่มาเเละความสำคัญ
           ยุงเป็นพาหะนำโรคต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคไข้มาลาเรีย เป็นต้น จึงได้มีผู้คิดค้นสิ่งที่สามารถช่วยในการกำจัดและป้องกัน เช่น ครีมทางกันยุง ยาฉีดกันยุง เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะเกิดอันตรายต่อผู้บริโภคเมื่อใช้ในปริมาณที่มากเกินไปอันเนื่องมาจากสิ่งเหล่านี้อาจจะมีสารเคมีเป็นส่วนผสมอยู่ ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคเกิดอาการแพ้ได้ในเวลาต่อมา คณะผู้จัดทำจึงได้มองเห็นปัญหานี้และได้คิดหาวิธีแนวทางแก้ไขจึงได้มีการทำโครงงานเรื่อง เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง เพื่อเป็นการป้องกันยุงอันนำไปสู่โรคภัยได้

วัตถุประสงค์
  1.  เพื่อเป็นการศึกษาหาสมุนไพรที่สามารถใช้ป้องกันยุงได้
  2.  เพื่อเป็นการนำสมุนไพรมาประยุกต์ใช้ได้
  3. เพื่อทำเทียนหอมตะไคร้ในการใช้ป้องกันยุง
  4.  เพื่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ
  5.  เพื่อให้เกิดความคิดจินตนาการอย่างสร้างสรรค์และการระดมความคิด   (brainstorm) ภายในกลุ่ม 
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า 
        คณะผู้จัดทำเห็นว่าต้องการที่จะศึกษาเฉพาะเทียนหอมที่ทำจากพาราฟินที่หลอมเหลวผสมกับใบตะไคร้ที่ตากแห้ง เท่านั้น







บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
1. พาราฟีน
              พาราฟิน หรือ เคโรซีน เป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมซึ่งกลั่นแยกออกจากน้ำมันดิบ จุดหลอมเหลวประมาณ 47-64 องศาเซลเซียส จุดเดือดประมาณ 150-275 องศาเซลเซียส ไม่ละลายในน้ำ สามารถใช้ประโยชน์ได้มากมายเเละมีหลายสถานะด้วยกัน 



2. ตะไคร้
             ตะไคร้(Lemongrass)  ชื่อวิทยาศาสตร์     Cymbopogon citratus (DC.)  เป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 4-6  ฟุต มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้วยในส่วนของสรรพคุณใช้ส่วนของเหง้าและลำต้นแก่ ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารที่สำคัญหลายชนิดเช่น ต้มยำ และอาหารไทยหลายชนิด ให้กลิ่นหอม มีสรรพคุณทางยาเช่น บำรุงธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ทำให้เจริญอาหาร แก้โรคหืด แก้อหิวาตกโรค บำรุงสมอง ช่วยให้สมาธิดี ต้มกับน้ำใช้ดื่มแก้อาเจียน ใช้ต้นสดโขลกคั้นเอาน้ำดื่มแก้อาการเมาในกรณีผู้ที่เมามากๆ ช่วยให้สร่างเร็ว ส่วนหัวสามารถใช้แก้โรคเกลื้อน ท้องอืดท้องเฟ้อ โรคนิ่ว มากไปกว่านั้นยังสามารถทำเป็นยาช่วยนอนหลับ ช่วยลดความดันสูง น้ำมันตะไคร้หอมใช้ทากันยุงได้ ถ้าปลูกใกล้ผักอื่นๆจะช่วยกันแมลงได้และยังให้กลิ่นหอม ที่ดับกลิ่นบางชนิดใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมเพราะมีกลิ่นที่หอม และที่กำจัดยุงบางชนิดก็ใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมด้วยเนื่องจากมีกลิ่นที่แรงจึงช่วยทำให้ไล่ยุงได้ นอกจากนี้ตะไคร้ยังแก้กลิ่นคาวหรือดับกลิ่นคาวของปลา และเนื้อสัตว์ได้ดีมากๆ


























บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน
การดำเนินงาน
  1. ปรึกษาหารือในการหาหัวข้อเรื่องโครงงานที่จะทำ
  2.  วางรูปเเบบการทำโครงงาน
  3.  ให้สมาชิกเเต่ละคนไปที่เเหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของโครงงาน
วัสดุเเละอุปกรณ์
1.น้ำมันหอมระเหยกลิ่นตะไคร้




2.พาราฟีน



3.สีเทียน







4. สาร S.A เเละ P.E






5.ไส้เทียน





6. เเม่พิมพ์



7. อุปกรณ์ในการตั้งไฟ เช่น เตาเเก๊ส






8. หม้อ




ขั้นตอนการทำ
1.   ตั้งไฟที่เตาเเก๊สนำหม้อมาวาง

    2. ใส่พาราฟีนลงไปเเล้วรอจนกว่าจะละลายประมาณ  10 นาที


    3. หลังจากละลายเเล้วใส่น้ำมันหอมระเหยกลิ่นตะไคร้ สาร S.A. เเละ S.A.  สีเทียน ตามลำดับเเล้วรอเป็นเนื้อเดียวกันประมาณ3-4 นาที

      
     
     


    4. ปิดเตาเเก๊สเเล้วนำหม้ออกมาวางข้างนอกเเล้วรอให้ส่วนผสมเย็นตัวลงส่วนหนึ่ง



     5.เทใส่เเม่พิมพ์ประมาณ  1 ใน 4ของเเม่พิมพ์เเล้วรอให้เย็นตัวเเต่ไม่ให้เเข็งตัว
    6.นำไปตกเเต่ง ใช้ประโยชน์ตามต้องการ











บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน
           จากการทำโครงงานเรื่องเทียนหอมกลิ่นตะไคร้ไล่ยุง เเล้วได้ทำเทียนหอมกลิ่นตะไตร้ไล่ยุงออกมานั้น เพื่อทดลองใช้เเล้วผลปรากฏว่าสามารถไล่ยุงออกไปได้ เเละในบางครั้งยุงทนกลิ่นของตะไคร้ไม่ได้ทำให้ตายไป ซึ่งถือว่ามีประสิทธิภาพ













บทที่ 5 สรุปผลการทำงาน

       1.  ตะไคร้นั้นถือได้ว่าเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่หาได้ง่ายตามธรรมชาติ หรือในท้องถิ่น ชุมชน ซึ่งสรรพคุณของตะไคร้นั้นถือว่าใช้ประโยชน์ได้จากทุกส่วยของตะไคร้เลย เเละหนึ่งในสรรพคุณเหล่านั้นคือกลิ่นของตะไคร้เป็นกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ของยุง ทำให้ยุงจะไม่มาเข้าใกล้ในบริเวณที่มีกลิ่นตะไคร้
         2.การทำโครงงานครั้งนี้ทำให้รู้จักการนำพืชสมุนไพรที่หาได้ง่ายตามธรรมชาติ ท้องถิ่น มาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างรายได้ เเละอีกทั้งมีขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนอีกด้วย
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. คนที่ได้มาศึกษาทราบวิธีการทำเทียนหอมกลิ่นตะไคร้ไล่ยุง
  2.  รู้จักการนำพืชสมุนไพรมาใช้ได้ตรงกับความต้องการ
  3.สามารถนำความรู้ไปต่อยอดได้อีกในเวลาต่อไป
    4.สามารถนำไปสร้างรายได้ให้กับตนเองได้